ชื่อเรี่อง ..... แรงงานสำคัญของชาติ
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงาน “คน” ที่เป็นแรงงานสำคัญของประเทศ โดยในแต่ละปีประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จะถูกนับรวมมาเป็นกำลังแรงงานของประเทศ ชึ่งแรงงานถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิต ในขณะเดียวกันแรงงานในปัจจุบันสามารถจำแนกได้ได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. แรงงานในระบบ (Formal Sector) เช่น ผู้ที่มีรายได้ประจำ มีเงินเดือนแน่นอน หรือ
“มนุษย์เงินเดือน” 2. แรงงานนอกระบบ (Informal Sector) คือ แรงงานที่ทำงานอิสระ เช่น
คนที่ทำงานไม่เต็มเวลา คนงานที่รับงานไปทำที่บ้าน คนงานที่ทำงานรับเหมาช่วง โดยสามารถที่จะจำแนกประเภทของแรงงานนอกระบบได้ 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ทำงานรับจ้าง และมีเงินเดือนประจำ เช่น แรงงานรับจ้างทำการเกษตร ตามฤดูกาล แรงงานประมง คนรับใช้และคนทำงานบ้าน
กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ทำอาชีพอิสระทั่วไป เช่น คนขับรถรับจ้าง เกษตรกร ชาวนา ชาวสวน แม่ค้าหาบแร่ แผงลอย ช่างเสริมสวย ช่างทำผม
โดย ปี พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าประเทศไทยมีกำลังแรงงานรวมทั้งสิ้น 3,993,150 คน จำแนกเป็น
แรงงานนอกระบบ มีจำนวน 1,264,468 และแรงงานในระบบมีจำนวน 2,728,682 คนนอกจากนั้นแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาประถมศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษามากถึงร้อยละ 46.3 ของแรงงานทั้งหมด เปรียบเทียบกับแรงงานในระบบที่ส่วนใหณ่จะมีการศึกษาที่สูงโดยแรงงงานในระบบร้อยละ 22.8 จบการศึกษาตั้งแต่มัธยมศึกษาไปจนถึงอุดมศึกษา
โดยสถานการณ์ปัจจจุบันประเทศไทยถือว่ามีปัญหาเรื่องแรงงานนอกระบบและแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศ ทำให้คนไทยไม่มีงานทำ ซึ่งค่าจ้างของแรงงานข้ามชาติถูก และปัญหาที่ตามมาคือ เกิดเป็นปัญหาสังคม และทำให้คนประเทศไม่มีงานทำหรือหางานทำได้ยาก เป็นปัญหาที่รอการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
เนื้อหา
แรงงานในปัจจุบันสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.แรงงานในระบบ (Formal Sector) มีการให้คำจำกัดความของ “แรงงานในระบบ” ว่า หมายถึง แรงงานที่ทำงานในระบบการจ้างงานที่มีรายได้ประจำ มีเงินเดือนที่แน่นอน หรืออาจจะเรียกว่าเป็น “มนุษย์เงินเดือน” ก็ได้ และที่สำคัญที่สุดคือแรงงานในระบบจะได้รับการคุ้มครองสวัสดิการต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนั้นแรงงานในระบบยังมีโอกาสที่จะก้าวหน้าในชีวิตการทำงานและได้รับสิทธิคุ้มครองจากการประกันสังคม การประกันชราภาพ และประกันสุขภาพ
2.แรงงานนอกระบบ (Informal Sector)
สำหรับคำจำกัดความของ “แรงงานนอกระบบ” หมายถึง แรงงานที่ทำงานอิสระ หรือเป็นแรงงานที่ไม่ได้รับการคุ้มครองในระบบการประกันสังคม ได้แก่
- คนงานที่รับงานไปทำที่บ้าน (Home-Base Worker) เช่น คนไช้ในบ้านของคนรวย คนขับรถ คนทำสวน
- คนงานที่ทำงานแบบเหมาช่วง (Sub-Contract Worker) ช่น คนงานก่อสร้าง คนงานทำถนน
โดยสามารถที่จะจำแนกประเภทของแรงงานนอกระบบได้ 2 กลุ่ม ดังนี้
1.กลุ่มที่ทำงานรับจ้าง และมีเงินเดือนประจำ ได้แก่
-แรงงานที่รับจ้างเอางานไปทำที่บ้าน
-แรงงานรับจ้างทำการเกษตร ตามฤดูกาล
-แรงงานประมง
-คนรับใช้ และคนทำงานบ้าน
-คนขับรถ (ส่วนตัวตามบ้าน) เป็นต้น
2.กลุ่มที่ทำอาชีพอิสระทั่วไป ได้แก่
-คนขับรถรับจ้าง
-เกษตรกร ชาวนา ชาวสวน
-แม่ค้าหาบเร่ แผงลอย
-ช่างเสริมสวย ช่างตัดผม
-เจ้าของร้านขายของชำขนาดเล็ก เป็นต้น
กำลังแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบ ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองสวัสดิการ และหลักประกันการทำงาน นอกจากนั้นแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ หรือมากกว่าร้อยละ 85 ยังทำงานในภาคเกษตรกรรม ธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก โรงแรมและภัตตาคาร ดังนี้
1.ภาคเกษตรกรรม มีแรงงานนอกระบบทำงานจำนวน 14.1 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 38.9 ของแรงงานทั้งหมด
2.ด้านค้าส่ง-ค้าปลีก มีแรงงานนอกระบบทำงานจำนวน 3.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 9.7 ของแรงงานทั้งหมด
3.ด้านโรงแรมและภัตตาคาร มีแรงงานนอกระบบทำงานจำนวน 1.7 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 4.7 ของแรงงานทั้งหมด
แรงงานนอกระบบ เป็นแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศ มีจำนวนประมาณ 23 ล้านคน หรือร้อยละ 72 ของผู้มีงานทำทั้งหมด งานนอกระบบมีส่วนสร้างรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 2,000,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 43 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งรวมถึงประเทศไทย ที่กำลังแรงงานส่วนใหญ่ยังอยู่ในสาขาการผลิตที่ไม่เป็นทางการ และอีกกว่าครึ่งหนึ่งยังอยู่ในภาคเกษตรกรรม
ตารางและกราฟ
ตาราง จำนวนผู้มีงานทำในแรงงานในระบบและนอกระบบ จำแนกตามกลุ่มอายุ และเพศ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550
ที่มา: การสำรวจแรงงานนอกระบบ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กราฟที่ 1 จำนวนผู้มีงานทำทั้งหมด จำแนกตามอายุ
กราฟที่ 1 แสดงจำนวนของแรงงานทั้งหมดที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย สีน้ำเงินแสดงถึงจำนวนผู้หญิงทั้งหมดที่ทำงานทั้งในระบบและนอกระบบ สีฟ้าแสดงถึงจำนวนผู้ชายที่มีงานทำทั้งหมดในประเทศจะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ชายมีมากกว่าผู้หญิง
กราฟที่ 2 จำนวนผู้มีงานทำอยู่ในระบบหญิง จำแนกตามอายุ
กราฟที่ 2 แสดงจำนวนผู้หญิงที่ทำงานในระบบ ในประเทศไทย จำแนกตามอายุ จะเห็นได้ว่าผู้หญิงที่ทำงานอยู่ในระบบส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่างอายุ 30-34 ปี ประมาณ 21% และผู้หญิงที่ทำงานในระบบน้อยที่สุดอยู่ระหว่างอายุ 60 ขึ้นไป ประมาณ 1%
กราฟที่ 3 จำนวนผู้มีงานทำอยู่นอกระบบ จำแนกตามอายุ
กราฟที่ 3 อธิบายถึงจำนวนผู้มีงานทำที่อยู่นอกระบบในประเทศ จำแนกตามอายุ ผู้ชายที่ทำงานนอกระบบส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่างอายุ 35-44 ปี และผู้หญิงที่ทำงานนอกระบบส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่างอายุ 45-49 ปี และถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว ผู้ชายจะมีจำนวนแรงงานที่ทำงานอยู่นอกระบบมากกว่าผู้หญิง มีผลกระทบต่อสังคม ทำให้ไม่ได้รับการคุมครองของประกันสังคม จากรัฐบาล
กราฟที่ 4 จำนวนผู้มีงานทำทั้งหมด จำแนกตามเพศ
กราฟที่ 4 แสดงจำนวนแรงงานทั้งหมดในประเทศ จำแนกตามเพศ จะเห็นว่าผู้ชายจะมีจำนวนแรงงานที่ทำงานทั้งในระบบและนอกระบบมีมากกว่าผู้หญิง จากกราฟ สีสมแสดงถึงเพศหญิงที่มีจำนวนน้อยกว่าเพศชาย และสีเหลืยงแสดงถึงจำนวนแรงงานเพศชาย ที่มากกว่าเพศหญิงของจำนวนแรงงานทั้งหมดในประเทศ
สรุปและข้อเสนอแนะ
ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจนอกระบบไม่มีการจัดเก็บสถิติอย่างเป็นระบบแต่จากการประเมิณพบว่าขนาดของเศรษฐกิจนอกระบบของไทยมีขนาดใหญ่มาก ทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจนอกระบบใหญ่ที่สุดในโลก ยิ่งไปกว่านั้น แรงงานนอกระบบของไทยมีจำนวน 2 ใน 3 ของแรงงานทั้งหมด และปัญหาที่ตามมา คือ แรงงานนอกระบบมักเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยและไม่แน่นอน แต่กลับไม่ได้รับการช่วยเหลือ และคุ้มครองจากรัฐบาลทั้งด้านกฎหมายแรงงานและประกันสังคม เนื่องจากรัฐบาลไม่มีฐานข้อมูลจากคนกลุ่มนี้ ทำให้กำหนดมาตรการช่วยลงไปถึงคนกลุ่มนี้ได้ยาก ตัวอย่างที่เห็นชัด คือ การที่คนส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบกลับไม่มีโอกาศได้เช็คช่วยชาติ 2,000 บาท เนื่องจากมิได้มีข้อมูลอยู่ในกองทุนประกันสังคม ซึ่งเป็นปัญหาที่รอการแก้ไขเพื่อให้แรงงานนอกระบบมีสิทธิประโยชน์เหมือนกลุ่มคนที่อยู่ในระบบ
ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีหลักประกันสำหรับแรงงานนอกระบบในการเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานของรัฐบาล เช่น บริการด้านที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาลฟรี เป็นต้น
2. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) ควรผนวกแรงงานนอกระบบกลุ่มต่างๆ เป็นกลุ่มเป้าหมายของการให้การดูแลในเรื่องสุขภาพ
3. รัฐบาลส่งเสริมนโยบายการกระจายเม็ดเงินกู้แก่ประชาชนระดับรากหญ้า
4. กระทรวงแรงงานควรส่งเสริมการรวมกลุ่มของแรงงงานนอกระบบเพื่อพัฒนาตนเองและสิทธิของกลุ่ม
อ้างอิง
1. เครือข่ายแรงงานนอกระบบ “ข้อเสนอแนะของเครือข่ายแรงงานนอกระบบต่อการขยายการคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ” เอกสารอัดสำเนา (2 หน้า) 21 ธันวาคม 2548.
2. นฤมล นิราทร. หาบเร่แผงลอย อาหาร: ความสำเร็จและตัวบ่งชี้ วิทยานิพนธ์ปรัชญาดษฎีบัณฑิต(สหวิทยาการ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.
3. อัชฉรา สายะตานนท์. คุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานนอกระบบในภาคเกษตรกรรรม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2548.
4. เสาวนิจ นิจอนันติชัย. โครงการประเทินผลแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ. กรุงเทพฯ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ,2546.
5. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)